กลุ่มหนอนกัดกินใบลำไย
หนอนกัดกินใบ เช่น หนอนคืบ หนอนมังกร ทำลายโดยกัดกินใบอ่อนหมดทั้งต้นได้ภายใน 2-3 วัน พบการระบาดช่วงฤดูฝนเข้า ระยะลำไยแตกใบอ่อน ต้องระวังเจ้าหนอนให้ดี จะเข้าทำลายกัดกินใบอ่อน ถูกทำลายเสียหายในเวลาอันรวดเร็ว
เพลี้ยแป้ง
ลักษณะการทำลาย จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากบริเวณกิ่ง ช่อดอก ผลอ่อน ผลแก่ โดยมีมดดำเป็นตัวคาบพาไปยังส่วนต่างๆ ของพืช นอกจากนี้เพลี้ยแป้งจะขับน้ำหวาน ออกมาเป็นสาเหตุให้ราดำที่มีอยู่ในธรรมชาติเข้าทำลายซ้ำ
ดอกทุเรียนเน่าแอนแทรคโนส
การแพร่ระบาด สภาพอากาศที่ชื้นมีฝนตกเอื้ออำนวยให้เชื้อรา แพร่ระบาดทางลมฝนจากใบและกิ่งที่เป็นโรคเข้าสู่ดอก โดยทางน้ำฝนทำให้ดอกทุเรียนเน่าดำก่อนบาน
โรคสแคปในส้ม
โรคสแคปของส้ม เกิดจากเชื้อรา ชอบอากาศเย็น พบมากบนพื้นที่ปลูกส้มที่อากาศเย็น จะมีลักษณะคล้ายโรคแคงเกอร์ คือจุดแผลนูน พบบนใบอ่อนส้มที่แตกใหม่ แต่มีความแตกต่างที่รอยแผล โดยโรคสแคป จะไม่มีวงสีเหลืองล้อมรอบแผลบนใบ จะเกิดตุ่มนูนด้านหลังใบ ส่วนหน้าใบแผลจะบุ๋มลง
เตือนเกษตรกรสาวชาวส้ม “ระวังโรคจุดดาวกระจาย หรือ โรคแต้มเหลือง”
ในช่วงที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ฝนตก แดดร้อน อาจทำให้สรีระพืชและสภาพอากาศ ทำให้ผิวเปลือกส้มเกิดแผลจากการที่ต่อมน้ำมันขยายตัวจนแตก หรืออาจเกิดจากการเข้าทำลายของแมลงปากดูด ทำให้ต่อมน้ำมันบนผิวเปลือกส้มเสียหาย
หนอนกระทู้ ข้าวโพด
โดยเพศเมียจะวางไข่ในเวลากลางคืน การเข้าทำลายพืชเกิดขึ้นในระยะที่เป็นตัวหนอนเท่านั้น หนอนจะระบาดทำลาย ข้าวโพดตั้งแต่อายุประมาณ 7 วัน จนกระทั่งออกเป็นฝัก โดยกัดกินยอด และใบข้าวโพดแหว่ง